วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.


ความรู้ที่ได้รับ



การประเมินผล

* การประเมินตนเอง - เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ
* การประเมินเพื่อน  - สนุกสนานในห้องเรียน  ร่วมตอบคำถาม  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
* การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ  เข้าสอนตรงต่อเวลา  และอธิบายการสอนได้อย่างละเอียด เข้าใจและเห็นตัวอย่าง  สนุกสนานในการเรียนการสอน

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.

ความรู้ที่ได้รับ



ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.


ความรู้ที่ได้รับ


*วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเรื่องที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มที่ 1 เรื่อง เด็ก CP. 

       CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง การพิการทางสมอง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง (เรียกกันว่า Dysarthria) ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย
เด็กพิการทางสมองซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้
สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้ทั้งก่อน/ระหว่าง /หลังคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแม่ แม่ที่มีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นปัญหากับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ อาจเป็นปัญหาระหว่างคลอดที่เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คลอดยาก สมองได้รับการกระทบกระเทือน เด็กคลอดก่อนกำหนด โดยปกตินั้นเด็กแรกเกิด เนื้อสมองจะยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ต้องอาศัย ระยะเวลาประมาณ 6 ปีระบบประสาทส่วนต่างๆ จึงทำงานโดยสมบูรณ์ โดยในช่วง อายุ 2 ปีแรกนั้น ถือเป็นช่วงที่มีอัตราการเจริญที่รวดเร็วเกือบ 80%ของทั้งหมด
เด็กซีพี อาจจำแนกโดยลักษณะการเคลื่อนไหวได้ 4 ประเภท คือ
1. Spastic CP จะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งแน่น ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อปกติ มีลักษณะแข็งทื่อ 2. Ataxic CP กล้ามเนื้อจะยืดหดอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ หากเด็กมีความเก็บกดทางอารมณ์ หรือเมื่อเวลาตื่นเต้น กล้ามเนื้อจะยิ่งผิดปกติมากขึ้น
3. Athetoid CP มีอาการกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน ทำให้เด็กควบคุมสมดุลย์ไม่ได้ ทำให้โซเซและหกล้มได้ง่าย ประมาณ 1 ใน 4 ของเด็กที่เป็นซีพี จะมีอาการเป็น Atheloid CP
4. Mixed CP เป็นการผสมผสานลักษณะทั้งสามคือ เด็กคนเดียวอาจมีลักษณะที่กล่าวมาแล้ว โดยประมาณกันว่า 1 ใน 4 ของคนที่เป็น ซีพี จะมีลักษณะของการผสมผสานประเภทนี้
แม้จะมีกลุ่มอาการของเด็ก Cerebral palsy (C.P.) มากมายแต่ที่เราพอจะให้ความช่วยเหลือและรักษาได้คือ พวก spasticity เท่านั้นในการดูแลรักษาเราจะแบ่งเด็ก spastic cerebral palsy ออกเป็น
1. Hemiplegia คือพวกที่มี spasticity ของแขนและขาข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งปกติ
2. Double hemiplegia คือ มีลักษณะของ hemiplegia ทั้ง 2 ข้างเพียงแต่ความรุนแรงของแต่ละข้างไม่เท่ากัน
3. quadriplegia หรือ total body involvement พวกนี้มี involvement ของทั้งแขนและขาทั้ง 2 ข้างเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ของ cases พวกนี้มักจะมี neck หรือ cranial nerve involvement ด้วย ปัจจุบันจึงนิยมที่จะเรียก total body involvement มากกว่า quadriplegia 
4. Diplegia คือ involved มากเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง ในขณะที่แขนทั้ง 2 ข้าง gross movement เกือบจะปกติมีเฉพาะส่วนของ fine movement เท่านั้นที่ถูก involved
5. อื่น ๆ เช่น monoplegia, paraplegia, triplegia พบน้อยมาก โดยเฉพาะ paraplegia ในกรณีนี้ควร rule out spinal cord lesion ออกก่อน ก่อนที่จะบอกว่าเป็น
Cerebral palsy ชนิด paraplegia
การรักษา แบ่งเป็นการรักษาด้านกระดูกและข้อ และการรักษาด้านอื่นๆ
1.ป้องกันความผิดรูปของข้อ ต่างๆ โดยใช้ วิธีทาง
- กายภาพบำบัด(Physical Therapy) จะช่วยให้เด็กซีพี เรียนรู้การเคลื่อนไหวและการปรับสมดุลย์ของร่างกายได้ดีขึ้น
- อรรถบำบัด (Speech and Language Therapy) เด็กๆ ที่เป็นซีพี จะได้ฝึกทักษะการสื่อสาร 
2.ลดความเกร็ง โดยใช้ยา
- ยากิน กลุ่ม diazepam
- ยาฉีด เฉพาะที่ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือกลุ่ม Botox
3.การผ่าตัด 
- การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึง
- การย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
- การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
4. การให้การดูแลรวมถึงให้กำลังใจ โดยพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ กับการพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก
5.การรักษาด้านอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง ใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้าน จิตเวช

กลุ่มที่ 2 เรื่อง เด็ก LD.
LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี
LD แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ความบกพร่องด้านการอ่าน
ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์
เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
แพทย์สามารถวินิจฉัยเด็ก LD
การรวบรวมประวัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กแต่ละด้านเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย รวมทั้งรายงานจากครูประจำชั้น การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียน เปรียบเทียบกับระดับสติปัญญา (IQ)
เด็ก LD จะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำกว่าเพื่อนนักเรียนในชั้นอย่างชัดเจนและเป็นปัญหาที่กระทบต่อการเรียนอย่างต่อเนื่อง
อะไรคือสาเหตุของโรค LD
·         การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการใช้ภาษา
·         กรรมพันธุ์ มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องมีปัญหาเดียวกัน
·         ความผิดปกติของโครโมโซม
ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วย
เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ และอาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้
·         หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
·         ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า
·         ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง
·         รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
·         ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า ทำไม่ได้” “ไม่รู้
·         อารมณ์ ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
·         ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
·         ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
ปัญหาเด็ก LD
เด็ก LD มีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ที่พบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา

กลุ่มที่ 3 เรื่อง ดาว์นซินโดรม

เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม
โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง
สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
1.               โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
2.               โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
3.               มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
ลักษณะของเด็กดาวน์
1.               ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
2.               ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน
3.               ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น
4.               ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย
5.               ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง
6.               ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ
7.               ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี
8.               ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ
9.               ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ
10.         ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน
ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ
1.               วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
2.               วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
3.               วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป
การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ

กลุ่มที่ 4 เรื่อง เด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ (Inattention) อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ (Hyperactivity) หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ (Impulsiveness) อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ
โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่มักรักษาไม่หาย โดยร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นตั้งแต่เด็กจะยังคงแสดงอาการดังกล่าวเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ทั้งนี้การรักษาและวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและทันท่วงทีสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้
จากการแบ่งประเภทของสถาบันสุขภาพจิตของสหรัฐอเมริกา (The U.S. National Institute of Mental Health) โรคสมาธิสั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักตามอาการของโรคที่แสดงออกมาก ดังนี้
    -ประเภทขาดสมาธิเป็นหลัก (Predominantly Inattentive type)
    -ประเภทอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive-Impulsive Type)
    -ประเภทมีอาการทั้งสองแบบร่วมกัน (Combined Type)


กลุ่มที่ 5 เรื่อง เด็กปัญญาเลิศ

เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ  เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ  แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย


กลุ่มที่ 6 เรื่อง  เด็กออทิสติก

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก


กลุ่มที่ 7 เรื่องเด็กที่มีอารมณ์รุนแรง

เด็กน้อยที่รับรู้ถึงความรุนแรงและพฤติกรรมไม่เหมาะสมจากทีวี เพื่อนเล่น พี่ ๆ จากสถานเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเขาเอง จะทำให้เขาเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เด็กที่เห็นพ่อตะโกนใส่แม่หรือตบตีแม่ เขาจะคิดว่าพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ เด็กที่ต้องเผชิญกับพฤติกรรมความรุนแรงหรือการแสดงอาการก้าวร้าวอันธพาลจากสถานเลี้ยงเด็กก็จะแสดงพฤติกรรมคล้ายกันในที่สุดหากสถานการณ์ที่กล่าวมาคล้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณ คุณจำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ถูกต้อง เพราะนี่คือชีวิตของลูกคุณคงไม่มากไปที่คุณควรทำให้ตัวเองมั่นใจว่าได้เลี้ยงลูกในทางที่ปลอดภัย ให้ความรัก ใจเย็นกับลูก และให้เขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสงบลองหาผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านครอบครัวให้กับคุณได้ หรืออาจหาสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูกคุณหากจำเป็นหากมีการอันธพาลที่สถานเลี้ยงเด็กและเป็นเหตุให้ลูกคุณกลายเป็นเด็กก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง และเป็นคนโกรธง่าย ปรึกษาสถานเลี้ยงเด็กว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ขึ้นอีก หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นคุณอาจจำเป็นต้องย้ายลูกไปสถานเลี้ยงเด็กอื่นความรุนแรงในรูปแบบอื่นที่อาจสร้างปัญหา ซึ่งรวมไปถึงหนังหรือวิดีโอเกม คุณก็ควรสอดส่องดูแลสิ่งที่เข้ามาในบ้านของคุณและดูว่าใครใช้เวลาอยู่กับลูกคุณบ้าง เช่น ห้ามสมาชิกคนอื่นในครอบครัวดูหนังที่มีความรุนแรงเมื่อใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยของคุณ

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่ 2 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.



**สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรมวันศึกษาศาสตร์ อาจารย์ได้ให้ไปเข้าร่วมกิจกรรม**




ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.


ความรู้ที่ได้รับ


หลังเรียนเนื้อหาเสร็จก่อนจะปล่อยอาจารย์ได้ให้ลองวาดภาพเพื่อวัดระดับของนักศึกษา




ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรก อาจารย์แจก Course Syllabus จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายการเรียนการสอนในรายวิชานี้ว่าในแต่ละสัปดาห์จะเรียนอะไรบ้างอธิบายถึงเกณฑ์การให้คะแนน ข้อตกลงต่างๆ การทำ Blog เมื่ออธิบายเสร็จแล้วอาจารย์ก็มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มนำเสนอประเภทของเด็กพิเศษ กลุ่มละ 1 ประเภท ทั้งหมด 7 กลุ่ม โดยกลุ่มของดิฉันได้ประเภท เด็กปัญญาเลิศ แล้วจากกนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มทำ Mind Mapping เรื่องเด็กพิเศษ โดยให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับเด็กพิเศษก่อนที่จะเรียนเพื่อที่จะดูว่า แต่ละกลุ่มมีความรู้เรื่องนี้มากน้อยเพียงใด และท้ายคาบ อาจารย์ก็ให้แต่กลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอ


                  นี่คือ Mind Mapping ของกลุ่มดิฉัน