วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                วันที่  25  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
                                กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย)   เวลา 13:00 - 15:00 น.


ความรู้ที่ได้รับ



ลักษณะสมาธิสั้นพันธุ์แท้

เด็กสมาธิสั้น คือ กลุ่มเด็กเก่ง ส่วนใหญ่ไหวพริบและไอคิวดีม​าก แต่คำว่า สมาธิสั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเป็นแง่ลบว่า ปัญญาอ่อน ไม่สามารถจะเรียนอะไรได้เลย แต่กลับตรงข้ามเป็นเด็กที่มีสมาธิมากเหมือนอยู่ในภวังค์ในเรื่องที่ชอบ สนใจ แต่ไม่อาจมีสมาธิได้เลยในเรื่องที่ไม่สนใจ
หน้าที่ 1-ลักษณะสมาธิสั้นพันธุ์แท้
สมาธิสั้นพันธุ์แท้ หรือ เรียก "ไฮเปอร์" มีประวัติในวัยเด็กเรื่อง ซนไม่อยู่นิ่ง ชอบปีนป่าย ทำกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะการวิ่งเล่นซน ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ยกเว้น การทำอะไรที่ไม่สนใจ จะทำได้ไม่นาน หยุกหยิก เหม่อเหมือนไม่ฟังเวลาพูดคุยด้วย แต่กลับรู้เรื่องหมด เพราะสมองไวเหมือนเรดาร์ แบ่งภาคการรับรู้ได้มาก จึงเลือก ตรวจจับ รับข้อมูลหรือคำสั่งเฉพาะเรื่องที่สนใจ และสำคัญ เช่นเสียงเรียกของแม่ที่เริ่มอารมณ์เสีย หงุดหงิดที่เรียกหลายครั้งแล้วยังไม่ฟังเพราะกำลังมีสมาธิมากกับการเล่น
ในเด็กผู้ชายมักเป็นสมาธิสั้นแบบซน เคลื่อนไหวเร็ว เหมือนรถที่มีเครื่องยนต์แรง แต่เบรคไม่ค่อยดี พูดมาก เล่นสนุกส่งเสียงดัง ไม่ค่อยระวัง ทำอะไรรีบเร็ว ไม่เรียบร้อย ซุ่มซ่าม ของตกหล่น แตกบ่อย โดยไม่ตั้งใจ มีความว่องไวแบบนักวิ่งลมกรด หรือนักรักบี้ตัวน้อย ที่พละกำลังมาก วิ่งชนคู่ต่อสู้ หรือหลบ ดิ้นหลุดจากการถูกกอดรัด จับตัวไว้ได้ ในเด็กผู้หญิงมักพบสมาธิสั้นแบบเหม่อมากกว่า ความซนจะน้อยกว่าเด็กผู้ชาย และทำอะไร เรื่อยๆ อืดอาด ช้า ไม่ทันกำหนดเวลา ต้องคอยบอก กำกับ เหมือนไม่รู้เวลา เหม่อและหลงลืมบ่อย
ผู้ใหญ่ที่ใจร้อน ก็คือ เด็กไฮเปอร์มาก่อน เป็นคนที่คิดเร็ว พูดเร็ว ทำเร็ว แสดงออกท่าทางมากเวลาพูด เปลี่ยนใจในเรื่องต่างๆง่าย เพราะพลังความคิดมีมาก มองเห็นความเป็นไปได้หลายมิติของสถานการณ์ จึงปรับตัวรับมือต่อความเปลี่ยนแปลง ที่พลิกผันได้ดี ชอบลักษณะงานที่ไม่อยู่กับที่ รักอิสระ ไม่ชอบถูกตีกรอบความคิด เป็นคนที่คิดนอกกรอบ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง จนถึงขั้นดื้อรั้นไม่ฟังใคร ความคิดและจินตนาการ ที่แปลกใหม่ พรั่งพรูในสมอง ทำโครงการ หรือกิจกรรมหลายอย่าง เบื่องานซ้ำๆ งานที่เข้าทำตามเวลา หรือถูกเร่งรัดด้วยเวลา
เด็กสมาธิสั้น มีสมาธิมาก แบบจดจ่อ อยู่ในภวังค์ ในเรื่องที่ชอบและสนใจ ไม่ใช่แต่เฉพาะการ์ตูน (ที่ผู้ใหญ่มองว่าไม่เป็นสาระ) แต่ยังสนใจภาพยนตร์สารคดี เรื่องราวของธรรมชาติ และสัตว์โลก ที่มีสีสันเป็นภาพเคลื่อนไหว และเนื้อหาแปลกใหม่ เป็นเด็กช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็นมาก มีข้อสงสัย คำถามในใจมากมาย มาซักถามจนผู้ใหญ่เหนื่อยที่จะตอบรวมถึง ชอบเล่นแกะรื้อ ต่อประกอบ อุปกรณ์ ของเล่นส่วนใหญ่ มักกระจุย กระจาย แยกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย เพราะความอยากรู้ อยากเห็น ผู้ใหญ่เข้าใจว่า ซนไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อโตขึ้นก็รู้จักต่อ ประกอบใหม่ ซ่อมเครื่องยนต์ กลไกต่างๆ โดยไม่ต้องมีใครสอน เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตนเอง จากการสังเกต ทดลองซ้ำ ฝึกปฏิบัติบ่อยๆพื้นฐานเดิมเป็นเด็กที่อารมณ์ดี สนุกสนาน รับรู้ อารมณ์คนรอบข้างไว จึงอ่อนไหวง่าย ขี้น้อยใจมาก จากการที่ถูกดุว่า บ่อย เรื่อง ซนและดื้อ ฉลาดโต้ตอบด้วยไหวพริบ คารมคมคาย น้ำเสียงพูดสูงๆ ต่ำๆ มีลีลาแบบจังหวะดนตรี เจ้าบทเจ้ากลอน เจ้าบทบาท เลียนแบบ แสดงสีหน้า อารมณ์เก่ง และมีความสามารถ ธรรมชาติของความเก่งด้านกีฬาเพราะเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า เด็กสมาธิสั้นพันธุ์แท้ ล้วนแต่ ปัญญาดี ฉลาด เก่งหลายด้าน แต่หากลักษณะซน, เหม่อ ขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่น มีมากจนก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัว ทั้งด้านอารมณ์ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือมีปัญหาการเรียนมาก ทางการแพทย์จึงจะถือว่าเป็น โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit /Hyperactivity Disorder) หรือ ADHD
  • เข้าใจปัญหาการเรียน
เด็กสมาธิสั้น กลุ่มที่ไม่มีปัญหาการเรียน มีมากกว่าครึ่ง มีทั้งที่เรียนเก่งมากสอบได้ในระดับที่ 1 - 10 ได้ ตั้งแต่เล็ก (แต่มีลักษณะของสมาธิสั้น) จนเข้ามหาวิทยาลัย ได้เกียรตินิยมจบ ปริญญาโท เอก จบแพทย์หลายสาขา เป็นวิศวกรนักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และอีกหลายแขนงวิชาชีพที่ชอบ กลุ่มที่ผลการเรียนปานกลาง หรือรั้งท้ายในวัยเด็ก ช่วงประถมหรือมัธยมต้น แต่กลับมาทำคะแนนได้เป็นม้าตีนปลายในโค้งสุดท้าย (ม.5-ม.6) สอบเอนทรานซ์ ได้จากความชอบ มีเป้าหมาย หรือเริ่มรู้วิธีเรียน และใส่ใจพยายามมากขึ้น กลุ่มที่มีปัญหาอ่านเขียนมาก พบได้ราว หนึ่งในสี่ของเด็กสมาธิสั้น เกิดจากการขาดสมาธิในการฟังครู และ/หรือจากความสับสนเรื่องตัวอักษร เช่น b เป็น d , p เป็น q , ค เป็น ด งง ว่าหัวตัวอักษร หมุนเข้า หรือออกเวลาเขียน หรือจากปัญหาสะกดคำไม่ถูก ตกหล่น ลายมือเขียนตามปกติจะเป็นตัวใหญ่ๆเล็ก
แต่หากเป็นการคัดลายมือ ก็สามารถตั้งใจ เขียนได้สวยงามแบบตัวอารักษ์ หากมีปัญหาสะกดคำไม่ได้ เรียกว่า ดิสเลกเซีย (Dyslexia) หรือแอลดีด้านภาษา มักพบสมาธิสั้นแบบเหม่อมากกว่าซน พร้อมกับพรสวรรค์ด้านอื่น เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา

เรียนรู้แตกต่าง สร้างแรงจูงใจ ฝึกนิสัยให้ปรับตัว
การเรียนรู้ของเด็กสมาธิสั้นมาจากประสบการณ์ การสังเกต และปฏิบัติ มากกว่าฟังครูสอน หรืออ่านจากตำรา หากสิ่งที่เรียน นำไปปรับประยุกต์ใช้ แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ก็จะจำได้เองโดยง่าย ถ้าสนใจเรื่องใดแม้จะเป็นเรื่องที่ยาก ก็มีสมาธิมาก อยากเรียน และเรียนรู้แบบวิเคราะห์เจาะลึก ในเรื่องนั้นได้ดี เป็นแฟนพันธุ์แท้ หรือ และมีสัญชาตญาณ เก่งเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตนเองสนใจตั้งแต่เล็ก เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา การประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์การสร้างแรงจูงใจ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับเด็กสมาธิสั้นให้รู้จักคิดเอง แก้ปัญหาเองเป็น ตั้งแต่ 3-4 ขวบปีแรก ฝึกให้รู้จักรอคอย ดึงพลังงานที่มี่มากในตัว มาใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ทำสิ่งต่างๆได้เอง และชื่นชมเขาบ่อย เป็นพื้นฐานแรงจูงใจที่นำไปใช้ด้านการเรียนได้การฝึกนิสัยให้รักการอ่าน ให้ดูหนังสือที่มีภาพประกอบ มีสีสัน อ่านให้ฟัง ตั้งแต่ 2-3 ขวบปีแรก โดยเฉพาะ นิทาน การ์ตูน บทกลอน บทความ ง่ายๆ ช่วยให้เริ่มอ่านได้ ตั้งแต่อนุบาล 3 และอ่านเก่งมาก ป.2 , ป. 3 หาหนังสือประเภทต่างๆ ที่ชอบ เช่น รามเกียรติ์ พระอภัยมณี แฮรี่ พอตเตอร์ อ่านเร็วแบบ scan กวาดสายตา เก็บใจความเนื้อหา โดยข้ามการสะกดคำที่ยากแต่การเขียนมากๆ ประโยคยาวๆ จะต้องใช้สมาธิ รู้สึกยาก เมื่อยมือ เบื่อสะกดตกหล่น หรือสะกดคำผิด จึงเขียนได้ช้า และเขียนตอบหรือบรรยายสั้นๆ หากเนื้อหาการเรียนมากทุกวิชา เด็กสมาธิสั้นไม่สามารถจดจ่อ จดไม่ทัน และจำในรายละเอียดมากๆไม่ได้ เริ่มเรียนไม่ทัน ทำการบ้านไม่ได้ ซุกการบ้าน ผลการเรียนลดลงตั้งแต่ช่วงชั้นประถมปลาย หรือช่วงเปลี่ยนระดับชั้นเข้ามัธยมต้น การสอนในห้องเรียน ที่ต้องนั่งนิ่งๆ ฟังครูสอน ทุกชั่วโมง หรือจดตามมากๆ เด็กสมาธิสั้นปรับตัวได้ยาก การปรับการเรียนการสอน อาจเป็นการบรรยายภาคทฤษฎี สัก 20 นาที แล้วแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมให้ฝึกปฏิบัติ ซักถาม ถกเถียงกัน แล้วนำเสนออภิปราย ได้ขยับตัวเคลื่อนไหวให้มีชีวิตชีวา มีบรรยากาศของการมีส่วนร่วม
หน้าที่ 2-ต้นแบบการเรียนรู้ จินตนาการ และความมุ่งมั่นปฏิบัติ 
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ชื่อว่า เป็นพวกวาดวิมานในอากาศ ฝันกลางวัน(Day Dreamer) ในระยะแรกที่นำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ ถูกวิจารณ์อย่างมาก ว่านึก วาดภาพฝันเอาเอง โดยไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”และยังให้ข้อคิดอีกว่า “เด็กมีความกระหายที่จะเรียนรู้โดยธรรมชาติ การสอนเด็กจึงง่ายมาก ถ้าเพียงแต่สอนในสิ่งที่เขาต้องการเรียนรู้ ไม่ใช่สอนในสิ่งที่คนอื่นคิดว่าเด็กควรเรียนรู้อะไร”ซึ่งแตกต่างจากระบบการสอนที่ยึดหลักสูตรเป็นตัวตั้ง ให้เก่งทุกวิชา ในเนื้อหาที่มากเกินความจำเป็น ไม่ได้คำนึงถึงกลุ่มผู้เรียน ที่มีความถนัดเฉพาะด้านแตกต่างกันส่วน ทอมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ ที่จดลิขสิทธิ์นับพัน ในวัยเด็ก ซนจนป่วน มีลักษณะของสมาธิสั้นแบบซน ครูรับมือไม่ไหว คิดว่าเป็นเด็กโง่เอดิสันเคยกล่าวให้ข้อคิดว่า “ปากกาและดินสอแต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จ แต่การปฏิบัติและทดลองอยู่ตลอดเวลา ด้วยความมุ่งมั่น สม่ำเสมอเท่านั้น ที่ทำให้เกิดผลงานได้”เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล รัฐบุรุษของอังกฤษในยุคสงครามโลก ชอบเล่นตุ๊กตาทหาร ในวัยเด็ก แต่มีความทุกข์จากการเรียน เขียนไว้ว่า “ไม่มีครูคนใดสามารถสอนให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ได้ หากสิ่งที่เรียนไม่ก่อให้เกิดจินตนาการไม่ทำให้ข้าพเจ้าสนใจ”
                                                           นิทานเด็กสมาธิสั้น

              


การประเมินผล

        ตนเอง :  เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการเรียน

      
       เพื่อน : มีความตั้งใจเรียนดีมาก สนใจการสอนของอาจารย์ อาจมีพูดคุยกันบ้างเล็กน้อยมีการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นบ้างบางส่วน โดยรวมถือว่า ดี


      อาจารย์ : มีการสอนที่สนุก ไม่ง่วง ทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจในการเรียน มีการแสดง
ท่าทางประกอบการสอนตามหัวข้อต่างๆ มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนโดยการสมมุติสถาการณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้จริง และได้ความรู้เพิ่มเติมจากเทคนิคต่างๆในการสอน/ช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นที่สามารถไปใช้ได้จริงและเหมาะสม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น