บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียนที่ 101 (วันอังคารบ่าย) เวลา 13:00 - 15:00 น.
ความรู้ที่ได้รับ...
เรียนรู้ในเรื่องของ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( Children With Learning Disabilities )
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการจัดการศึกษาการจัดทำหลักสูตรเนื้อและกิจกรรมการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างกัน เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่กระจายอยู่ชั้นเรียนทั่วๆไป แต่ผลสัมฤทธิ์เรียนต่ำเมื่อเทียบกับระดับสติปัญญามีปัญหาในการรับและการส่งข้อมูลมีความยุ่งยากลำบากในการเรียน หรือเรียกว่าเด็กเรียนยากโดยทั่วไปมีสภาพร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจปกติ แต่เรียนหนังสือไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากสมองด้วยความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้หรือยุ่งยากเป็นบางเรื่องหรือเฉพาะเรื่อง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ หรือคณิตศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องมีการสอนเสริมตามลีลาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ลดสิ่งรบกวน เพิ่มสมาธิและวิธีการเรียนรู้ให้กับเด็ก
การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จะไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเด็กปกติมากนัก ให้เด็กได้ทำงานที่สอดคล้องกับความสามารถของตัวเด็ก เมื่อทำงานได้สำเร็จจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ถ้าเด็กไม่อยู่นิ่ง รบกวนการเรียนของเพื่อน ครูอาจแยกเด็กให้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างอิสระและเป็นการปรับพฤติกรรมไปด้วย แต่เนื่องด้วยเด็กที่มีปัญหาในทางการเรียนรู้นั้นอยู่ท่ามกลางความคาดหวังที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ สมองที่กำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ ของเด็กกำลังเลื่อนไหลไปท่ามกลาง“สายธารที่ไม่หยุดนิ่งตามความเรียกร้องหรือความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ” ดังนั้น ธรรมชาติและผลกระทบของปัญหาทางการเรียนรู้จึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินผลการจัดการศึกษา และภาพรวมของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ขณะที่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีการพัฒนาตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ก็จะถูกคาดหวังล่วงหน้าจากครู และผู้ใกล้ชิดว่าจะมีการปรับปรุงความสามารถพื้นฐานในทุกด้านในทางที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ การคาดหวังทางวิชาการในเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีความเชื่อว่า เด็กต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในด้านความถูกต้องแม่นยำ ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น และพัฒนาด้านภาษา ความทรงจำ ทักษะการเคลื่อนไหว สมาธิ ตลอดจนการใช้เหตุผล ถ้าเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีการพัฒนาในด้านเหล่านี้ช้า ซึ่งไม่เพียงพอที่จะเรียนหรือทำงานให้ได้ตามความคาดหวัง ช่องว่างที่เกิดขึ้น ในเรื่องของทักษะและความสามารถทางวิชาการก็จะห่างยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ดังนั้นการที่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จะสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ ให้สามารถพัฒนาได้เกือบเท่าเทียมกับเด็กปกติได้ ทั้งในเรื่องการเรียนของเด็ก ทักษะทางวิชาการของเด็ก อารมณ์ของเด็ก และพฤติกรรมของเด็กนั้นต้องขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของผู้ปกครอง การสอนของครูตลอดสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง
เด็กออทิสติก (Autistic)
-ความหมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ |
-อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
*โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
การประเมินผล
>>การประเมินตนเอง - 90% เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ
>>การประเมินเพื่อน - 95% สนุกสนานในห้องเรียน ร่วมตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
>>การประเมินอาจารย์ -100%การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และอธิบายการสอนได้อย่างละเอียด เข้าใจและเห็นตัวอย่าง สนุกสนานในการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น